ผ้ากันไฟใช้ในงานสะเก็ดไฟเชื่อม บางคนเรียก ผ้ากันความร้อนสะเก็ดไฟงานเชื่อม
• Thermo E-Glass
สินค้าทนความร้อนในหมวดนี้จะทอขึ้นมาจากเส้นใยแก้วชนิด E-Glass ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านทานกระแสไฟฟ้า มีราคาไม่สูง ใช้งานได้หลากหลาย ที่อุณหภูมิต่อเนื่องไม่เกิน 550°C
• Hakotherm®-800, Silontex®
ผลิตภัณฑ์กันความร้อนในหมวดนี้ผลิตจากเส้นใยแคลเซี่ยม-ซิลิเกตที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 6 ไมครอน สามารถต้านทานโลหะเหลวร้อนๆ ได้เป็นอย่างดี ที่อุณหภูมิไม่เกิน 750°C
ผู้ผลิตผ้ากันความร้อนสำหรับใช้ในงานอุตสาหกรรม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ผ้ากันไฟ” ซึ่ง ผ้ากันไฟสำหรับงานเชื่อมโลหะในเมืองไทยนั้น มีการจบผิวผ้า (finished) หลายลักษณะด้วยกันตามวัตถุประสงค์เฉพาะในการนำไปใช้งานแต่ละประเภท บจก.นิวเทค อินซูเลชั่น จะขอแนะนำให้รู้จักการจบผิวที่นิยมใช้กันแพร่หลาย เพื่อให้ท่านที่ยังไม่ทราบ ได้เห็นและเข้าใจถึงความแตกต่างของการจบผิวผ้ากันความร้อน (ผ้ากันไฟ) แต่ละแบบ
1. ผ้ากันไฟแบบ Loomstate
“ลูมสเตท” เป็นภาษาของโรงงานทอผ้า มีความหมายว่า “ผ้าที่ไม่เคลือบ” ข้อดีคือผ้าประเภทนี้จะมีราคาต่ำสุดเนื่องจากไม่มีต้นทุนในการเคลือบผิวผ้า แต่ข้อเสียคือใยผ้าจะหลุดลุ่ยได้ง่ายและไม่มีคุณสมบัติอื่นเพิ่มเติมเช่น กันน้ำ กันการเสียดสี กันสารเคมี กันรังสียูวี เป็นต้น
2. ผ้ากันไฟแบบ Heat Treatd
“ฮีททรีท” หรือการอบผ้าเพื่อไล่ความชื้นและสารอินทรีย์ต่างๆที่ตกค้างอยู่บนผ้าให้หมดไปหรือให้เหลืออยู่บนผ้าน้อยที่สุด ผ้าที่ผ่านกรรมวิธีอบแบบนี้จะมีสีน้ำตาลหรือสีเหลืองอ่อน ซึ่งเป็นสีที่เราพบเห็นได้ในผ้ากันสะเก็ดไฟเชื่อมโดยทั่วไป ผ้ากันความร้อนที่จบผิวในลักษณะนี้จะมีราคาต่อหน่วยเพิ่มขึ้นจากแบบผ้าธรรมดาเล็กน้อย แต่ทนความร้อนได้ดีขึ้นพอสมควร
3. ผ้ากันไฟแบบ Metalized
“เมทัลไลซ์” เป็นการพ่นผงเหล็กลงบนเนื้อผ้าในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ผ้าทนต่อการเสียดสีและทนความร้อนที่มีอุณหภูมิสูงเกิน 700 C ได้ดียิ่งขึ้น ผ้าที่จบผิวแบบนี้นอกจากจะใช้เป็นผ้ากันไฟในงานเชื่อมแล้ว ยังใช้เป็นผ้ากันความร้อนสำหรับงานเทอร์โบและเทอร์ไบน์ อีกด้วย เนื่องจากผงเหล็กที่ละเอียดมากบนผ้าจะช่วยให้ผ้ากันความร้อนนั้นมีควันน้อยลง (smokeless) เมื่อสัมผัสกับความร้อนสูงในช่วงแรก ซึ่งคุณสมบัตินี้จำเป็นมากสำหรับงานฉนวนกันความร้อนเพื่อเครื่องจักรบางประเภท
4. ผ้ากันไฟแบบ Vermiculite
“เวอร์มิคูไลท์” แร่เวอร์มิคูไลท์ถูกนำมาเคลือบผ้ากันไฟหรือผ้ากันความร้อนเพื่อให้ผ้าอยู่ทรง ตัดเย็บได้ง่ายโดยเส้นใยไม่หลุดลุ่ย และยังเพิ่มคุณสมบัติในการต้านทานความร้อนได้เพิ่มขึ้น เช่น ผ้ากันไฟแบบไม่เคลือบที่ทนอุณหภูมิได้ประมาณ 300 C เมื่อนำมาเคลือบแร่ชนิดนี้จะทนความร้อนได้สูงขึ้นถึงประมาณ 450 C ที่สำคัญคือแร่ชนิดนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันการเสียดสี (abrasive resistant) ที่จะเกิดขึ้นกับผ้ากันไฟในการใช้งานจริงอีกด้วย
5. ผ้ากันไฟแบบ Silicone Rubber Coated
“ยางซิลิโคน” ผ้ากันไฟแบบไม่คันส่วนหนึ่งนิยมเคลือบซิลิโคน (ทั้งแบบหน้าเดียวและแบบสองหน้า) ซึ่งการเคลือบซิลิโคนนอกจากจะช่วยลดการฟุ้งกระจายของใยผ้าแล้ว ยังมีคุณสมบัติกันน้ำ (waterproof) อีกด้วย แต่จุดอ่อนของซิลิโคนส่วนใหญ่คือทนความร้อนได้ไม่เกิน 300 C ทำให้ผ้ากันไฟหรือผ้ากันความร้อนที่จบผิวแบบนี้ ถูกนำไปใช้ในงานป้องกันสะเก็ดไฟและประกายไฟจากการเจียรและตัดเหล็กมากกว่างานเป่าเหล็ก ตัดเหล็ก (นิวเทค อินซูเลชั่น มีผ้ากันไฟเคลือบซิลิโคนให้เลือกมากถึง 12 สี)
6. ผ้ากันไฟแบบ Polyurethane Coated
“ยางโพลียูรีเทน” การจบผิวหรือเคลือบผิวผ้ากันไฟแบบนี้จะคล้ายกับการเคลือบซิลิโคน เพียงแต่จะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเนื่องจาก PU จะมีราคาถูกกว่าซิลิโคนแท้ และไม่สามารถกันน้ำได้ 100% เหมือนยางซิลิโคน แต่ข้อดีของการเคลือบ PU คือทำให้ไม่มีการฟุ้งกระจายของละอองผ้า (ไม่คัน) ตัดเย็บได้สะดวกเพราะใยผ้าไม่หลุดลุ่ย และมีสีให้เลือกได้หลายสีเช่นเดียวกับซิลิโคน แต่อุณหภูมิการใช้งานของผ้าที่เคลือบ PU จะต่ำกว่าผ้าเคลือบซิลิโคนอยู่ราว 30-50 C
7. ผ้ากันไฟแบบ PTFE (Teflon) Coated
“PTFE หรือ Polytetrafluoroethylene” หรือเรียกกันติดปากว่า “เทฟล่อน” มีกรรมวิธีเคลือบผ้าคล้ายกับซิลิโคนและโพลียูรีเทน แต่เมื่อเคลือบ PTFE แล้วจะได้คุณสมบัติที่เยี่ยมยอดเข้ามาหลายประการคือ กันน้ำ ตัดง่าย ทนต่อสารเคมี และ ทนแสงยูวี แต่มีข้อด้อยคือ ราคาสูงกว่าการเคลือบพียูและซิลิโคน อีกทั้งการเย็บจะทำได้ยากหากไม่ชำนาญเนื่องจากความลื่นของผิวผ้า สำหรับเรื่องการทนอุณหภูมินั้น ผ้ากันไฟที่เคลือบ PTFE จะอยู่ระดับเดียวกับการเคลือบซิลิโคน
8. ผ้ากันไฟแบบ ATF (Aluminium Transferred Foil)
“เอทีเอฟ หรือ อลูมิไนซ์” เป็นการจบผิวผ้าที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุด มีกรรมวิธีการทำที่ซับซ้อนกว่าการจบผิวทุกประเภทที่กล่าวมาในข้างต้น ไม่นิยมใช้กับผ้ากันไฟหรือผ้ากันสะเก็ดไฟเชื่อม แต่นิยมใช้กับผ้ากันความร้อนที่ต้องการคุณสมบัติ “สะท้อนความร้อน” เช่น ชุดทำงานหน้าเตาหลอม ชุดผจญเพลิง เอี๊ยมสะท้อนความร้อน ถุงมือสะท้อนความร้อน ปลอกแขนสะท้อนความ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น